เมื่อพิจารณาการกระจุกตัวของบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ของประเทศพบว่าบุคลากร วทน. ส่วนใหญ่อยู่ในภาครัฐ ดังแสดงตามตารางด้านล่าง
ซึ่งจากส่วนหนึ่งของเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ต้องการให้สัดส่วนร้อยละบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบทำงานเต็มเวลา (R&D personel: FTE) (person-year) ในภาคเอกชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายบุคลากร วทน. ชั่วคราวเพื่อไปดำเนินกิจกรรมวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมในภาคเอกชน ก่อให้เกิดการสร้างบุคลากร วทน. รุ่นใหม่จากการนำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมในฐานะผู้ช่วยนักวิจัย และการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน จากการดำเนินโครงการพบว่า อุปสรรคส่วนใหญ่เกิดจากภาระงานจำนวนมากของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศด้วย วทน. หน่วยงานภาครัฐจำนวนมากได้ดำเนินการสนับสนุนทุนการศึกษาให้บุคลากรผู้มีศักยภาพด้าน วทน. เพื่อทำการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้จากการศึกษามาสนับสนุนการพัฒนาประเทศ อาทิ ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พสวท.) ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) และทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) อย่างไรก็ตามจากการสำรวจสถานภาพการทำงานของนักเรียนทุน คปก. พบว่าร้อยละ 62 ของนักเรียนทุน คปก. ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยภาครัฐและเป็นนักวิจัย/เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐ ขณะที่สถานภาพการทำงานของนักเรียนทุนในกลุ่มอื่นๆ ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ซึ่งจากผลการสำรวจนี้ได้แสดงให้เห็นว่านักเรียนทุนของประเทศไม่ได้ถูกดึงศักยภาพอย่างเต็มที่เพื่อมาสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศ
จากผลสำรวจสถานะนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งของประเทศ (STEM Workforce for Competitiveness) (สวทน. ตุลาคม 2559) พบว่ามีนักเรียนทุนที่จบการศึกษามาแล้ว 2,898 คน อยู่ระหว่างการศึกษา 1,332 คน ในจำนวนนี้มีผู้ที่ตอบแบบสำรวจ 879 คนซึ่งร้อยละ 93.9 ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามมีความสนใจในการทำงานจากโจทย์วิจัยและพัฒนาในภาคผลิตและบริการของภาคเอกชน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีกลไกสนับสนุนการใช้ประโยชน์นักเรียนทุนเหล่านี้ซึ่งต้องอาศัยการสำรวจข้อมูลสถานะ การติดตามและวิเคราะห์การทำงานหลังจบการศึกษา และการจับคู่ความต้องการความร่วมมือในการทำวิจัยกับภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากกลุ่มนักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้วยังมีกลุ่มนักเรียนทุนอื่น ๆ อาทิ กลุ่มนักเรียนทุนผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และนักเรียนทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
ด้วยเหตุนี้ สวทน. จึงจัดทำข้อเสนอกลไกการใช้ประโยชน์นักเรียนทุนภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นสังกัดของกลุ่มนักเรียนทุนและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกลไกการใช้ประโยชน์นักเรียนทุนภาครัฐนี้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์กลไกการใช้ประโยชน์นักเรียนทุนภาครัฐฯ
กลไกการใช้ประโยชน์นักเรียนทุนภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน
การดำเนินงานจะอาศัยกลไกศูนย์อำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการโดยเชื่อมโยงกับกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักแสดงดังภาพต่อไปนี้
1) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรีในการสำรวจและจัดทำข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ และเชื่อมโยงโจทย์จากภาคเอกชนกับผู้เชี่ยวชาญ และประสานให้เกิดโครงการร่วมกัน
2) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาศูนย์ข้อมูล Talent Mobility ในด้านการวิจัยและพัฒนา
3) จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อร่วมจัดทำกลไกการใช้ประโยชน์นักเรียนทุนที่ส่งเสริมขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้กับภาคเอกชน โดยแบ่งเป็น
- ทุนเสริมสร้างงานวิจัยภาคอุตสาหกรรม (SuRF)
- ทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (IRF)
- ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ฝ่ายอุตสาหกรรม)
4) เชื่อมโยงเครือข่ายร่วมดำเนินการให้สามารถดำเนินการประสานการเสนอข้อเสนอโครงการจากทุนรูปแบบต่างๆ ข้างต้น
ข้อเสนอการสนับสนุนโครงการ
เพิ่มเติมรูปแบบการสนับสนุนทุน “ทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม” เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ สนับสนุนการทำวิจัยพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม และเชื่อมโยงการวิจัยพัฒนาระหว่างนักวิจัยรุ่นใหม่กับภาคอุตสาหกรรม โดย สวทน. ร่วมสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำเดือนให้นักวิจัยระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกในการทำวิจัยและพัฒนา ดังตาราง 1.
หมายเหตุ
- ค่าใช้จ่ายในการร่วมสนับสนุนทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมระหว่าง สกว. และ สวทน. จะสนับสนุนทุนละไม่เกิน 2 ปี โดยมีการประเมินคุณภาพทุก 1 ปี
- นักวิจัยจะต้องทำงานวิจัยเต็มเวลาให้กับสถาบันต้นสังกัด
- มหาวิทยาลัยของต้นสังกัดของอาจารย์ที่ปรึกษา/นักวิจัยพี่เลี้ยงต้องร่วมสนับสนุนในแต่ละโครงการในกรณีของสถานประกอบการขนาดใหญ่ตามนิยามของกฎกระทรวงอุตสาหกรรม สถานประกอบการจะต้องดำเนินการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ หรือดำเนินการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ หรือดำเนินการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในโครงการความร่วมมือระดับชาติ (National Projects)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
No comments for this post yet.